เมนู

9. พรหมนิมันตนิกสูตร


[551 ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
[552] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้ง
หลาย. สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน เมืองอุกกัฏฐา
ก็สมัยนั้นแล พกพรหมมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานฉะนี้ เกิดขึ้นว่า พรหมสถานนี้
เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้
แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละสถานที่ออกไปจากทุกข์
อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งนั้น เรา
รู้ความปริวิตกแห่งใจพกพรหมด้วยใจแล้ว จึงหายไปที่โคนต้นรังใหญ่ ใน
สุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่มี
กำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย พกพรหม
ได้เห็นเราผู้มาแต่ไกล แล้วได้พูดกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์. เชิญมาเถิด
ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียวที่ท่านเพิ่งทำทางจะมาในที่นี้ ท่านผู้นิรทุกข์.
พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา
พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็น
ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ภิกษุทั้งหลาย.
เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า ท่านผู้
เจริญ. พกพรหมตกอยู่ในวิชชาแล้วหนอ พกพรหมตกอยู่ในอวิชชาแล้วหนอ

เพราะว่าพกพรหมกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนนั่นแล
ว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงนั้นแลว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงนั้นแล
ว่า แข็งแรง กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดานั่นแลว่า มีความไม่เคลื่อน
เป็นธรรมดา ก็แหละสัตว์ทั้งเกิด ทั้งแก่ ทั้งตาย ทั้งจุติ ทั้งอุบัติอยู่ในพรหม
สถานใด พกพรหมก็กล่าวพรหมสถานนั้นอย่างนี้ว่า พรหมสถานนี้แล
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์
อย่างอื่นที่ยิ่งขึ้นไปอันมีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ยิ่งขึ้น
ไป ไม่มี.

[553] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามกเข้าสิงร่างของพรหม
ปาริสัชะองค์หนึ่งแล้ว กล่าวกะเราว่า ภิกษุๆ . อย่ารุกรานพกพรหมนี้
เลย อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย ภิกษุ เพราะว่าพรหมผู้นี้เป็นมหาพรหมเป็น
ใหญ่ (ปกครองคณะพรหม) หาใช่ผู้อื่นปกครองไม่ เป็นผู้ดูโดยแท้ ทำ
สรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก เป็นผู้ประ
เสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วและกำลัง
จะเกิด ภิกษุ. สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติดิน เกลียดดิน
เป็นผู้ติน้ำ เกลียดน้ำ เป็นผู้ติไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติลม เกลียดลม เป็นผู้ติ
สัตว์เกลียดสัตว์ เป็นผู้ติเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติปชาบดี เกลียดปชาบดี
เป็นผู้ติพรหม เกลียดพรหมในโลก (ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)
สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกายแตกขาดลมปราณ ต้องไปเกิดในหมู่
สัตว์ที่เลว (จตุราบาย) ภิกษุ. ส่วนสมณะพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ชม
ดิน เพลินดิน เป็นผู้ชมน้ำ เพลินน้ำ เป็นผู้ชมไฟ เพลินไฟ เป็นผู้ชมลม
เพลินลม เป็นผู้ชมสัตว์ เพลินสัตว์ เป็นผู้ชมเทวดา เพลินเทวดา เป็นผู้ชม
ปชาบดี เพลินปชาบดี เป็นผู้ชมพรหม เพลินพรหม สมณพราหมณ์เหล่า
นั้น เมื่อกายแตกขาดลมปราณ ก็ไปเกิดในกายประณีต หมู่สัตว์ชั้นดี (พรหม

โลก) ภิกษุ. เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกกะท่านอย่างนี้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์
เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น อย่างฝ่าฝืนคำของ
พรหมเลย ภิกษุ. ถ้าท่านจักฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบ
เหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ตีไล่สิริที่มาหา หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้จะตก
เหวนรก ชักมือและเท้าให้ห่างแผ่นดินเสีย ฉะนั้น ท่านผู้นิรทุกข์. เชิญ
เถิด ท่านจงทำอย่างที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น อย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย
ภิกษุ. ท่านเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ. ภิกษุทั้งหลาย. มารผู้
ลามกย่อมเปรียบเทียบเรากะพรหมบริษัทดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อ
มารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้ลามกนั้นว่า แน่ะมาร เราย่อมรู้
จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า พระสมณะไม่รู้จักเรา แน่ะมาร. ท่านเป็น
มาร พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่น
และอยู่ในมือของท่าน ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านมีความดำริว่า
แม้สมณะนี้ก็ต้องอยู่ในมือของเรา ต้องตกอยู่ในอำนาจของเรา ก็แต่ว่าเราไม่
ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของท่าน.

[554] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าว
ว่า ท่านผู้นิรทุกข์. ก็เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่มั่นคงนั่นแล
ว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ยั่งยืนนั่นแลว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่แข็งแรงนั่นแลว่า แข็ง
แรง กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดานั่นแลว่า ไม่มีความเคลื่อนเป็น
ธรรมดา ก็แหละสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ในพรหม
สถานใด เรากล่าวพรหมสถานนั้นแหละว่า พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่
แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้น
ไปไม่มีว่า เหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นยิ่งขึ้นไปไม่มี ภิกษุ. สมณะ
พราหมณ์พวกที่มีก่อนท่านได้มีแล้วในโลก อายุทั้งสิ้นของท่านเท่าไร กรรม

ที่ทำด้วยตบะของท่านเท่านั้น สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นแล พึงรู้เหตุเป็น
ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้นไปมีอยู่ว่า เหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่ง
อื่นมีอยู่ หรือพึงรู้เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้นไปไม่มีอยู่
ภิกษุ เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวกะท่านอย่างนี้ เพราะว่าท่านจักไม่เห็นเหตุ
ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้นไปเลย และท่านจักเป็นผู้รับส่วนแห่ง
ความลำบาก แห่งความคับแค้นอย่างเดียวเท่านั้น ภิกษุ. ถ้าแลท่านจักกลืนกิน
แผ่นดินได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา เราพึง
ทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ถ้าและท่านจักกลืนกินน้ำ ไฟ ลม เหล่าสัตว์
เทวดา ปชาบดี พรหมได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่
อยู่ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ดังนี้ เรากล่าวว่า
พรหม แม้เราย่อมรู้เหตุนี้ ถ้าเราจักกลืนกินแผ่นดินได้ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็น
ผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึงห้าม
ได้ ถ้าและเราจักกลืนกินน้ำ ไฟ ลม เหล่าสัตว์ เทวดา ปชาบดี พรหมได้
ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้
ตามประสงค์ ท่านพึงห้ามได้พรหม ใช่แต่เท่านั้น เราย่อมรู้ความสำเร็จและ
ย่อมรู้อานุภาพของท่านว่า พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุ-
ภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้พกพรหมถามเราว่า ท่านผู้นิร-
ทุกข์ ก็ท่านรู้ความสำเร็จ และรู้อานุภาพของเราว่า พกพรหมมีฤทธิ์มาก
อย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้ได้อย่าง
ไร เรากล่าวว่า

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด
อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในพันจักรวาลเท่านั้น ท่านย่อมรู้จัก
สัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะและสัตว์ที่ไม่มี

ราคะ รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น และรู้จักความมาและ
ความไปของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้

พรหม เราย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของท่านอย่างนี้
ว่า พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมี
ศักดิ์มากอย่างนี้พรหม กาย หมู่สัตว์ 3 อย่างอื่นมีอยู่ ท่านไม่รู้ไม่เห็นในกาย
3 อย่างนั้น เรารู้เห็นกายเหล่านั้น พรหม กายหมู่สัตว์ชื่ออาภัสสระมี
อยู่ ท่านเคลื่อนแล้วจากที่ใด มาอุบัติแล้วในที่นี้ ท่านมีสติหลงลืมไปเพราะ
ความอยู่อาศัยนานเกินไป เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่รู้ไม่เห็นกายนั้น เรารู้
เห็นกายนั้น พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้
ที่ไหนเราจะเป็นผู้ต่ำกว่าท่าน ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พรหม
กายชื่อสุภกิณหะ กายชื่อเวหัปผละมีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นกายนั้น
เรารู้เห็นกายนั้น พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่งแม้
อย่างนี้ ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พรหม เรารู้ยิ่งดินแลโดยความ
เป็นดิน รู้นิพพานอันสัตว์ถึงไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน แล้วไม่เป็นดิน
ไม่ได้มีความยึดถือแล้วในดิน ไม่ได้มีความยืดถือแล้วแต่ดิน ไม่ได้มีความยึด
ถือแล้วว่าดินของเรา ไม่ได้ชมดิน พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่ได้
ด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ที่ไหนเราจะต่ำกว่าท่าน ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้
สูงกว่าท่าน พรหม เรารู้จักน้ำ... รู้จักไฟ...รู้จักลม...รู้จักเหล่าสัตว์...รู้จัก
เทวดา...รู้จักปชาบดี...รู้จักพรหม ...รู้จักพวกอาภัสสรพรหม...รู้จักพวก
สุภกิณหพรหม...รู้จักพวกเวหัปผลพรหม...รู้จักอภิภูพรหม...พรหม เรารู้
จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่งทั้งปวง รู้จักนิพพานอันสัตว์ถึงไม่ได้โดยความ
ที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง แล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีความยึดถือแล้วในสิ่ง
ทั้งปวง ไม่ได้มีความยึดถือแล้วแต่สิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีความยึดถือแล้วว่า

สิ่งทั้งปวงของเรา ไม่ได้ชมสิ่งทั้งปวง พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่
ได้ด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ที่ไหนเราจะต่ำกว่าท่าน ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้
สูงกว่าท่าน พกพรหมกล่าวกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าและเพราะท่านรู้
นิพพานที่สัตว์ถึงไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง ถ้อยคำของท่าน
อย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็น
อนิทัสสนะ(เห็นไม่ได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุดหรือ หาย
ไปจากความเกิดขึ้นและความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์ถึงไม่ได้
โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความ
ที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดาเป็นเทวดา
โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหมเป็นพรหม โดยความที่
อาภัสสรพรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณหพรหมเป็นสุภกิณห-
พรหม โดยความที่เวหัปผลพรหมเป็นเวหัปผลพรหม โดยความที่อภิภูพรหม
เป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง พกพรหมกล่าวกะเรา
ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน เรากล่าวว่า พรหม.
ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจจะหายไปได้ก็จงหายไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น
แล พกพรหมกล่าวว่า เราจักหายไปจากพระสมณโคดม เราจักหายไปจาก
พระสมณโคดม แต่ก็ไม่อาจหายไปจากเราได้โดยแท้ ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า พรหม ผิฉะ-
นั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน พกพรหมกล่าวว่า ท่านผู้นฤทุกข์ผิฉะ-
นั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย ลำดับ
นั้น เราบันดาลอิทธาภิสังขารให้เป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียง
เรา แต่มิได้เห็นตัวเรา ดังนี้ เราหายไปแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า-
เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวง

หาวิภพแล้ว ไม่ชมภพ อะไรเลย
ทั้งไม่ยืดมั่นนันทิความเพลิดเพลินด้วย ดังนี้.


[555] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี
พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ได้มีความแปลกปลาดอัศจรรย์จิตว่า ท่านผู้
เจริญ น่าอัศจรรย์ น่าแปลกประหลาดหนอ พระสมณโคดม มีฤทธิ์มากมี
อานุภาพมาก ก่อนแต่นี้พวกเราไม่ได้เห็นไม่ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่
มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดมนี้ ผู้ออกผนวชแต่ศากย-
สกุล ถอนภพพร้อมทั้งรากแห่งหมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ยินดีในภพ เพลิดเพลินในภพ.

[556] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามก เข้าสิง พรหมปาริสัชชะ
องค์หนึ่งแล้วกล่าวกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าท่านรู้จักอย่างนี้ ตรัสรู้
อย่างนี้ ก็อย่าแนะนำ อย่าแสดงธรรม อย่าทำความยินดีกะพวกสาวกและ
พวกบรรพชิตเลย ภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่า
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก สมณะและพราหมณ์พวกนั้น
แนะนำแสดงธรรม ทำความยินดีกะพวกสาวกและพวกบรรพชิต ครั้นกาย
แตกขาดลมปราณ ก็ไปเกิดในหีนกายหมู่สัตว์ชั้นเลว ส่วนสมณะและพราหมณ์
พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สมณะและ
พราหมณ์พวกนั้น ไม่แนะนำไม่แสดงธรรม ไม่ทำความยินดีกะพวกสาวก
บรรพชิต ครั้นกายแตกขาดลมปราณก็ไปเกิดในปณีตกายหมู่สัตว์ชั้นดีภิกษุ.
เพราะฉะนั้น เราจึงบอกกะท่านอย่างนี้ ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญท่านเป็นผู้มัก
น้อย ตามประกอบความอยู่สบายในชาตินี้ อยู่เถิด เพราะการไม่บอกเป็น
ความดี ท่านอย่าสั่งสอนสัตว์อื่นๆ เลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้
แล้ว เราจึงกล่าวว่า มารผู้ลามก เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่าพระสมณะไม่
รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านหามีความอณุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกะ

เราอย่างนี้ ท่านไม่มีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูล จึงกล่าวกะเราอย่าง
นี้ ท่านมีความดำริว่า พระสมณโคดมจักแสดงธรรมแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่า
นั้นจักล่วงวิสัยของเราไป ก็พวกสมณะและพราหมณ์นั้นมิได้เป็นพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ปฏิญญาว่า เราทั้งหลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มารผู้
ลามก เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่า เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ
มารผู้ลามก! ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรมแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น
แม้เมื่อไม่แสดงธรรมแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น ตถาคต แม้เมื่อแนะนำพวก
สาวก ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่แนะนำพวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น นั่นเป็นเพราะ
เหตุอะไร เพราะอาสวะเหล่าใด อันให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ
กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ มีชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อาสวะเหล่า
นั้น ตถาคตละเสียแล้ว มีรากเหง้าอันถอนขึ้นแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาล
แล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เหมือนต้นตาล
มียอดถูกตัดเสียแล้ว ไม่ควรงอกอีกได้ ฉะนั้น.
ไวยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยมารมิได้
เรียกร้องและโดยพรหมเชื้อเชิญดังนี้ เพราะฉะนั้น ไวยากรณภาษิตนี้
จึงมีชื่อว่าพรหมนิมันตนิกสูตร ฉะนี้แล.

จบ พรหมนิมันตนิกสูตรที่ 9

อรรถกถาพรหมนิมันตนิกสูตร



พรหมนิมันตนิกสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ทิฏฐิอันชั่ว" ได้แก่ ความเห็นว่าเที่ยงอัน
ลามก คำว่า "นี้เป็นของเที่ยง" คือพูดว่า ฐานะของพรหมพร้อมกับโอกาสอัน
เป็นของไม่เที่ยงนี้ว่า เที่ยง. คำว่า "แน่นอน" เป็นต้น ก็เป็นคำใช้แทนคำ
ว่า "เที่ยง" นั้นนั่นเอง. ในคำเหล่านั้น คำว่า "แน่นอน" คือมั่นคง. คำ
ว่า "เที่ยงแท้" คือมีอยู่ทุกเมื่อ. คำว่า "ล้วน" คือทั้งหมดไม่มีขาด. คำว่า
"มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา" คือมีสภาพไม่เคลื่อนไป. ถึงฐานะในคำเป็นต้น
ว่า "นี้แล ย่อมไม่เกิด" นี้คือพูดหมายเอาว่า ผู้เกิด ผู้แก่ ผู้ตาย ผู้เคลื่อน
ผู้บังเกิดขึ้น ย่อมไม่มี. คำว่า "และก็อื่นจากนี้" คือความเห็นว่าเที่ยงแท้อย่าง
แรง ย่อมเป็นของที่เกิดขึ้นแล้ว แก่เขาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเหตุแห่งการออกไป
อย่างอื่นที่นอกเหนือจากฐานะของพรหม พร้อมทั้งโอกาสนี้ไม่มี. ก็
แหละ ผู้พูดเช่นนี้นั้นย่อมป้องกันทุกอย่างคือ ชั้นของฌานข้างบน 3 มรรค
4 ผล 4 นิพพาน 1. คำว่า "ผู้ไปในความไม่รู้" ความว่า ผู้ไปคือประกอบ
ในความไม่รู้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รู้คือ เป็นผู้บอด. คำว่า "ก็ชื่อใน...ใด" คือ
ชื่อใด. มารในบททั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างไร ?
เล่ามาว่า มารนั้นนั่งคำนึงถึงพระศาสดาในบ้านตัวเองตลอดเวลา
ว่า "วันนี้พระโคดมผู้สมณะอยู่ที่ตำบล หรืออำเภออะไร ? และตอนที่กำลัง
คำนึงอยู่นี้ รู้ว่า "กำลังอาศัยเมืองอุกกัฏฐะอยู่ที่ป่าสุภคะ จึงสำรวจดู แล้วจะไป
ไหนอีกหนอ? ก็เห็นว่ากำลังไปพรหมโลก จึงคิดว่า พระโคดมผู้สมณะกำลัง
ไปพรหมโลก เราจะไปทำให้พอใจในธรรมเทศนาอย่างผิดๆ ตลอดเวลาที่